วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 10 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

ความหมายของนวัตกรรม บางครั้งอาจจะมีความสับสนในการใช้ความหมายระหว่างคำว่า นวัตกรรม และ ประดิษฐกรรม ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นนักวิจัยและพัฒนาที่ทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถนำความคิดเหล่านั้นไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในโลกของความเป็นจริงได้

ดังนั้นนวัตกรรม จึงเป็นสิ่งจำเป็น ในยุคไอที ณ ปัจจุบัน

           

บทที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
            รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม และทำให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น
พาณิชอิเล็กทรอนิกส์
การพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เป็นการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อเสื้อผ้า บริการ การโฆษณาสินค้า การชำระเงิน การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งสินค้า เป็นต้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
        
            เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการจัดระบบการศึกษา (Education System) เป็นการทำงานตามขั้นตอน (Workflow) เป็นไปอย่างอัตโนมัตจนเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยสถาบันการศึกษา องค์การจัดการศึกษา องค์การจัดการศึกษา ตลอดจนผู้ศึกษาหรือผู้เรียนลดค่าใช้จ่ายจากการที่ใช้บริการผ่านเครือข่าย
สังคมอิเล็กทรอนิกส์
            ยุทธศาสตร์ของ e – Society ได้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักการและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ส่งเสริมการพัฒนาระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง โดยเฉพาะการพัฒนาการเกษตรและธุรกิจการเกษตรครบวงจร ทั้งนี้จะได้มีโอกาศสร้างความพอเพียงและทั่วถึงในความเป็นอยู่


บทที 8 กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ




จริยธรรม หมายถึง ความพึงประพฤปฏิบัติตามค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยใช้วิชาจริยศาสตร์ศึกษาพฤติกรรมด้านคุณค่า สามารถวิเคราะห์ค่านิยมที่เป็นคู่กัน สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดีควรกระทำ และสิ่งใดควรละเว้น
อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ คือบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี แต่นำความรู้ ความเชี่ยวชาญนั้นไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
แฮกเกอร์ (Hacker) คือผู้ที่มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีมีความสนใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก และชอบทดสอบความรู้ใหม่ๆ หรือความชำนาญ โดยการเจาะระบบต่างๆเพื่อความสนุกสนานและการเรียนรู้ แต่ไม่ได้เข้าไปทำลายระบบ ซึ่งแฮกเกอร์มักเป็นผู้ที่ค้นพบช่องโหว่ หรือข้อผิดพลาดของระบบ
            แครกเกอร์ (Cracker) คือผู้ที่มีเจตนาร้ายทำการเจาะ บุกรุกระบบ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อเข้าไปทำลาย ขโมยข้อมูล สร้างความปั่นป่วนให้กับองค์กรที่เข้าไปก่อกวน
รูปแบบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
            การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบพื้นฐานที่พบเจอบ่อย ที่สุดจำพวกไวรัส ไปจนถึงการใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงบุคคลอื่น








 

บทที่ 7 เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการความรู้

ความหมายของความรู้และการจัดการความรู้
        โลกยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ปัจจุบันความรู้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในทุกด้านส่งผลให้การศึกษา เรื่องเทคโนโลยีวารสนเทศเพื่อการจัดการองค์กรความรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อจัดการความรู้ยิ่งขึ้น

ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการความรู้
1.             ความสำคัญของการจัดการความรู้
ความรู้ทางเทคโนโลยีและความรู้ทางด้านวิทยาการต่างๆ เป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาความรู้ใหม่ และเทคโนโลยีใหม่

2.             ประโยชน์ของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ส่งผลให้เกิดความรู้ใหม่ นวัตกรรม โดยมีการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยน และเผยแพรความรู้ส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลในสังคมปัจจุบัน

บทที่ 6การจัดการสารสนเทศและระบบสารสนเทศ

ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
        ปัจจุบันมักจะพูดถึงระบบสารสนเทศกันมาก การดำเนินงานเกือบทุกขั้นตอนจะต้องมีสารสนเทศเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เช่น ร้านค้าขายสินค้าก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขาย เป็นต้น
หน้าที่ของระบบสารสนเทศ
        ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศ (Information System) มักเตรียมได้จากระบบคอมพิวเตอร์ จึงเรียก ระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์(CBIS : Computer-based Information Systems) ซึ่งก็คือ ระบบสารสนเทศที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล ประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาและทำการประเมินผลสารสนเทศเพื่อนำผลย้อนมาปรับปรุงข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามที่องค์กรต้องการ


บทที่ 5 ฐานข้อมูลและการสืบค้น

ความหมายของฐานข้อมูล
                ฐานข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลที่เราต้องการจะจัดเก็บ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการใช้งาน
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
1.             ฮาร์ดแวร์ (hardware)หมายถึง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลและประเมินผลข้อมู
2.             ซอฟต์แวร์ (software)หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูลซึ่งพัฒนาให้ใช้งานได้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเครื่องเมนเฟรม
3.             ข้อมูล (data)ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ดีและมีประสิทธิภาพ ควรประกอบด้วยข้อมูลที่มีความถูกต้อง รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน มีความสมบูรณ์ ชัดเจนและกะทัดรัด สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
4.             กระบวนการทำงาน (procedures)หมายถึง ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
5.             บุคลากร (people)จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับระบบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล


บทที่ 4อินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet)มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อถึงกันทั่วโลกลักษณะเสมือนใยแมงมุม โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว แต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางโดยไม่กำหนดตายตัว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้
สรุป
                อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ยังคงมีการพัฒนาต่อไป เพื่อตอบสนองความต้องการทีมีมากขึ้นทุกขณะ จะมีทางเลือกมากมายที่มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบรับวิถีแห่งการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปของสังคมในยุคปัจจุบัน